ธาตุ A, B, C, D,
E, F, G,H เป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน
ธาตุ A เป็นธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
ธาตุ B เป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงสุด
ธาตุ C ไม่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา
ธาตุ D ทำปฏิกิริยากับธาตุ B ได้สารประกอบไอออนิกที่มีสูตร BD
ธาตุ E มีเลขอะตอมมากกว่า D อยู่ 2
ธาตุ F มีค่า IE สูงกว่าธาตุ H แต่มีขนาดใหญ่กว่า
ธาตุ G เป็นอโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงมาก และมีขนาดเล็กกว่าธาตุ E แต่ใหญ่กว่าธาตุ B
ธาตุ A เป็นธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
ธาตุ B เป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงสุด
ธาตุ C ไม่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา
ธาตุ D ทำปฏิกิริยากับธาตุ B ได้สารประกอบไอออนิกที่มีสูตร BD
ธาตุ E มีเลขอะตอมมากกว่า D อยู่ 2
ธาตุ F มีค่า IE สูงกว่าธาตุ H แต่มีขนาดใหญ่กว่า
ธาตุ G เป็นอโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงมาก และมีขนาดเล็กกว่าธาตุ E แต่ใหญ่กว่าธาตุ B
การจัดเรียงธาตุทั้ง 8 จากเลขอะตอมน้อยไปมาก ข้อใดถูกต้อง
1) D A E
H F G B C 2) D A E G F H C B 3)
D A E G H F B C 4) D A E G F H B C
By กุลนันท์
เฉลย ข้อ 4 มีแนวคิด ดังนี้
ตอบลบ1. ให้คิดจากข้อที่โจทย์ให้มาอย่างชัดเจน ต้องมีข้อที่เป็นกุญแจนำไปสู่คำตอบสักข้อหนึ่ง ซึ่งในข้อนี้คือ ธาตุ A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 นั่นหมายความว่าธาตุ A ต้องอยู่หมู่ 2 อย่างแน่นอน
2. ธาตุ C ไม่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นธาตุในหมู่ 8
3. เมื่อเรารู้ธาตุ C เราก็จะคาดเดา ธาตุ B ได้ เนื่องจากเป็นธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงสุด ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนเข้าหาตนเอง ในคาบเดียวกันธาตุบนตารางธาตุจะมีมากกว่าธาตุที่อยู่ล่างตารางธาตุ แล้วจะมีมากขึ้นจากซ้ายไปขวา ดังนั้นธาตุ B น่าจะเป็นธาตุในหมู่ 8 แต่ ธาตุ C เป็นหมู่ 8 แล้ว ธาตุ B น่าจะอยู่หมู่ 7
4. สารประกอบไอออนิก เกิดเมื่อธาตุหนึ่งพยายามจ่าย e ออก(มักเป็นโลหะ) และอีกธาตุหนึ่งก็อยากรับ e (มักเป็นอโลหะ) แต่เมื่อรับและจ่ายแล้วเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก แล้วเวเลนซ์ของทั้งสองธาตุจะครบ 8 พอดี ดังนั้นเมื่อ DB ทำปฏิกิริยากัน
เกิด สปก. ไอออนิก เมื่อ B อยู่หมู่ 7 แล้ว D น่าจะอยู่หมู่ 1
5. ธาตุ E มีเลขอะตอมมากกว่าธาตุ D อยู่ 2 : ธาตุ D อยู่ในหมู่ 1 หากสมมติให้เป็น Na มีเลขอะตอมเป็น 11 หากมากกว่า 2
ก็จะเป็น 13 นั่นหมายถึง Al ในหมู่ 3
6. ขนาดอะตอมจะมีขนาดเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง และมีขนาดลดลงจากซ้ายไปขวา ธาตุ G มีจุดหลอมเหลวสูงมาก และมีขนาดเล็กกว่าธาตุ E แต่ใหญ่กว่าธาตุ B มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นทั้งหมู่ 4,5,6 แต่ทั้ง หมู่ 5 และหมู่ 6 จะมีความเป็นอโลหะมากกว่าจุดหลอมเหลวจะไม่สูงมาก ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นหมู่ 4
7. ตอนนี้เหลือแค่หมู่ 5 และ 6 จากเงื่อนไข ธาตุ F มี IE สูงกว่าธาตุ H แต่มีขนาดใหญ่กว่า ค่า IE หรือ ค่าไอออไนเซชัน คือ ค่าความสามารถในการดึง e จากธาตุอื่น ในสถานะgas ค่า ค่า IE นี้ จะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา ดังนั้น ธาตุ F จึงอยู่ หมู่ 5 และ ธาตุ H อยู่หมู่ 6