วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทักทายกันหน่อย

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกท่าเข้าสู่

บล็อกรวบรวมข้อสอบเคมีนะค่ะ ^^

ทางผู้จัดทำหวังว่าบล็อกนี้
จะเป็นประโยคไม่มาก็น้อย
สำหรับผู้ที่มาศึกษาต่อนะค่ะ

**เริ่มฝึกทำข้อสอบโดยสุ่ม โดยการคลิกที่ "บทความที่เก่ากว่า" **
**เฉลยอยู่ในความคิดเห็นของแต่ละข้อ**

ข้อที่ 1

ข้อความใดกล่าวถูกต้อง
ก.       กาหาประจุอิเล็กตรอน อาศัยสมดุลระหว่างแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กบนหยดน้ำมัน
ข.       ทฤษฎีอะตอมของดอลตันไม่ได้กล่าวถึงอนุภาคมูลฐานภายในอะตอมเลย
ค.       เปลวไฟจากการเผาธาตุต่างๆ จะมีสีสันต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างของนิวเคลียสของอะตอม
ง.        การทดลองยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทองคำพิสูจน์ได้ว่าอะตอมประกอบด้วยอิเล็กตรอน

1)      ก และ ข
2)      ก และ ค
3)      ข เท่านั้น
4)      ง เท่านั้น


By กุลนันท์

ข้อที่ 2

ธาตุ A, B, C, D, E, F, G,H เป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน
          ธาตุ
A เป็นธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
          ธาตุ B เป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงสุด
          ธาตุ
C ไม่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา
          ธาตุ
D ทำปฏิกิริยากับธาตุ B ได้สารประกอบไอออนิกที่มีสูตร BD
          ธาตุ E มีเลขอะตอมมากกว่า D อยู่ 2
          ธาตุ F มีค่า IE สูงกว่าธาตุ H แต่มีขนาดใหญ่กว่า
          ธาตุ G เป็นอโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงมาก และมีขนาดเล็กกว่าธาตุ E แต่ใหญ่กว่าธาตุ B

การจัดเรียงธาตุทั้ง
8 จากเลขอะตอมน้อยไปมาก ข้อใดถูกต้อง

1)   D A E H F G B C      2)   D A E G F H C B      3)   D A E G H F B C       4)   D A E G F H B C


By กุลนันท์

ข้อที่ 3

 กรดซัลฟิวริก (H2SO4) เป็นกรดแก่กว่ากรดแอซีติก (CH3COOH) เพราะเหตุใด

ก.   กรดซัลฟิวริกมีความเข้มข้นมากกว่า
ข.   กรดซัลฟิวริกมีจำนวนธาตุออกซิเจนมากกว่า
ค.   กรดซัลฟิวริกแตกตัวได้มากกว่า
ง.    กรดซัลฟิวริกมีฤทธิ์กัดมากกว่า


By ธิดารัตน์

ข้อที่ 4

การตรวจการนำไฟฟ้าของสารละลาย A พบว่านำไฟฟ้าได้ และเมื่อใส่ลวดแมกนีเซียมลงไปในสารละลาย A ปรากฏว่ามีฟองก๊าซเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าทดสอบสารละลาย A ด้วยกระดาษลิตมัส ผลควรจะเป็นอย่างไร

ก.   เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้ำเงิน      
ข.   เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง
ค.   ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง
ง.    ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทำนายได้


By ธิดารัตน์

ข้อที่ 5

ปฏิกิริยาเคมีจะสามารถเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยสภาวะในข้อใด
ก.     อนุภาคของสารตั้งต้นชนกันในทิศทางที่เหมาะสม
ข.     มีการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปเพื่อช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยา
ค.     สารตั้งต้นต้องมีพลังงานสูงกว่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา
ง.      มีความดันที่มากพอที่จะทำให้สารอยู่ในสภาวะแก๊สซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ง่ายขึ้น

       1.   ก. และ ข.                               2.   ก. และ ค.

       3.   ข. และ ง.                                4.   ค. และ ง.


By มัลลิกา

ข้อที่ 6

ธาตุกับมันตรังสีธรรมชาติ X มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,000 ปี นักธรณีวิทยาค้นพบซากของ
สัตว์โบราณที่มีปริมาณธาตุกัมมันตรังสี X เหลือออยู่ 6.25% ของปริมาณเริ่มต้น
สัตว์โบราณนี้มีชีวิตเมื่อกี่ปีมาแล้ว

1.   10,000 ปี
2.   15,000 ปี
3.   20,000 ปี
4.   25,000 ปี


By มัลลิกา

ข้อที่ 7

การระบุชนิดของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และโมเลกุลคู่ต่อไปนี้
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
น้ำตาลโมเลกุลคู่
1.ไรโบส
แล็กโทส
2.กลูโคส
กาแล็กโทส
3.ฟรักโทส
มอลโทส
4.มอลโทส
ซูโครส

ข้อใดถูกต้อง
ก.  เท่านั้น  
ข.  เท่านั้น
ค.  และ 4
ง. และ 3

By วราพร

ข้อที่ 8

 เจ้าหน้าที่ห้องตรวจเลือดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งตรวจเลือดคนไข้คนหนึ่ง นำเลือดคนไข้จำนวน  ลบ.ซม. มาทำการตรวจสอบหาปริมาณน้ำตาลกลูโคส พบว่ามีน้ำตาลกลูโคสอยู่  0.005  กรัม คนไข้คนนี้มีปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดกี่มิลลิกรัม/เลือด 100  ลบ.ซม.


ก.  90
ข. 100
ค. 110  
ง. 130


By วราพร

ข้อที่ 9

ถ้านำสาร ก ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 100 จำนวน 20 กรัม มาละลายในตัวทำละลาย  ข ซึ่งมีจุดเดือดเท่ากับ  100C จำนวน 400 กรัม ปรากฎว่าจุดเดือดเพิ่มขึ้นเป็น  102 C ค่า Kb  ของตัวทำละลายนี้คือ


1. 0.25 C
2.  1 C
    3.    2   C 
    4.      4   C


By จารุวรรณ

ข้อที่ 10

นักวิจัยผู้หนึ่งต้องการ 18F หนัก 1 g เพื่อใช้ในการทดลอง และได้สั่งซื้อจากบริษัทสารเคมีที่ใกล้ที่สุดในการขนย้ายจากบริษัทมายังห้องทดลองต้องใช้เวลา 8.15 ชั่วโมง และต้องเตรียมเครื่องมือให้พร้อมสำหรับการทดลองอีก 1 ชั่วโมง นักวิจัยผู้นี้ต้องสั่งซื้อ 18F กี่กรัม จึงจะเพียงพอกับการทดลอง กำหนดให้ครึ่งชีวิตของ 18F เท่ากับ 109.8 นาที

ตอบ _____________g


By จารุวรรณ

ข้อที่ 11

ข้อใดไม่ใช่สารอินทรีย์ทั้งหมด
       1.  เมนทอล   กรดซิตริก   แป้ง
       2.  การบูร   กรดกำมะถัน  พลาสติก
       3.  คาเฟอีน  กรดอะมิโน  แก๊สหุงต้ม

       4.  ลูกเหม็น  กรดไขมัน  น้ำมันถั่วเหลือง

By นิภารัตน์

ข้อที่ 12

ข้อใดสรุปหลักการแบบจำลองอะตอมถูกต้อง
       1.  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนมีทิศทางที่แน่นอนรอบนิวเคลียส
       2.  โอกาสในการพบอิเล็กตรอน ในระดับพลังงานสูงๆ ที่ไกลจากนิวเคลียสมีมากกว่าพบที่ระดับพลังงานต่ำๆ
       3.  โอกาสในการพบอิเล็กตรอน ในแต่ละระดับพลังงานนั้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนั้นๆ

       4.  โอกาสที่พบอิเล็กตรอนรอบอะตอมไฮโดรเจน เป็นกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน เป็นเพราะ H-atom  มีอิเล็กตรอนล้อมรอบอยู่เป็นจำนวนมาก

By นิภารัตน์

ข้อที 13

ถ้าต้องการเตรียมแอทิลซิเตตจากเอทานอล กรดแอซิติก และกรดซัลฟิวริกที่อุณหภูมิ
140  องศาเซลเซียส เครื่องมีชุดใจจึงจะแหมาะสม
 







By ธนัชพร
                                                                        

ข้อที่ 14

     สาร A เป็นสารประกอบอะโรมาติก และมีวงเบนซีนอยู่ในวงโมเลกุล
     มีสูตรโมเลกุล C8H10 จะมีกี่ไอโซเมอร์

         1. 2 ชนิด
         2. 3 ชนิด
         3. 4 ชนิด
         4. 5 ชนิด

     By ธนัชพร

ข้อที่ 15

กลุ่มของธาตุในข้อใดเป็นโลหะทุกธาตุ

ก. ซิลิคอน โซเดียม แคลเซียม
ข. แมกนีเซียม แคลเซียม ลิเทียม
ค. ฮีเลียม แมกนีเซียม อะลูมิเนียม
ง. นีออน โบรอน ซิลิคอน

By นันทนัช

ข้อที่ 16

W,X,Y  และ มีเลขอะตอมดังนี้ 19,20,36 และ 37 ธาตุคู่ใดมีสมบัติคล้ายคลึงกัน

ก. W และ  X
ข.  W  และ Z
ค.  X และ  Y
ง.   Y และ  Z

By นันทนัช

ข้อที่ 17

Aเป็นธาตุชนิดหนึ่งมีสูตรของออกไซด์เป็น  AO ซึ่งละลายน้ำให้สารละลายที่เปลี่ยนสีกระดาษลิสมัส  จากแดงเป็นน้ำเงิน
ธาตุAมีสูตรคลอไรด์เป็น ACl2  คำกล่าวข้อใดไม่ใช่สมบัติของธาตุA

1.สารประกอบคลอไรดืเป็นสารประกอบไออนิก
2.ธาตุAเป็นของแข็งอุณหภูมิห้อง
3.ธาตุAมีจุดหลอมเหลวสูง

4.ธาตุAระเหิดได้

By นิธิพร

ข้อที่ 18

มีของเหลวใส ไม่มีสี กลิ่นหอมอยู่ในซึ่งติดฉลากว่าเป็นเอทานอล(จุดเดือด  78.3 องศา)แต่มีผู้สงสัยว่าจะมีเมทานอล
(จุดเดือด 64.5 องศา)ปนอยู่ด้วย  วิธีการใดต่อไปนี้ที่อาจใช้ในการทดสอบและแยกสารทั้งสองทั้งสองออกจากกัน
ก.หาจุดเดือด
ข.กลั่น
ค.กลั่นลำดับส่วน
ง.กลั่นด้วยไอน้ำ
จ.สกัดด้วยอะซีโตน

สามารถใช้วิธีใดได้บ้าง
1.ก  และ  จ
2. ค
3.ก   ข  และ  ง
4.ข   ค  และ  จ

By นิธิพร

ข้อที่ 19

ถ้านักเรียนตักน้ำบริสุทธิ์มา 2 cm ยกกำลัง 3 น้ำนั้นจะจำนวนโมเลกุลเท่าใด

1. 6.62x10 ยกกำลัง 23
2.6.69x10 ยกกำลัง 23
3.7.62x10 ยกกำลัง 23
4.7.69x10 ยกกำลัง 23

By นุสรา

ข้อที่ 20

ธาตุ M มีมวลอะตอม 70 และมความหนาแน่นเท่ากับ 5.02 g/cm ยกกำลัง 3 ปริมาตรเฉลี่ยของธาตุนี้ 1 อะตอม จะมีค่ากี่ cm ยกกำลัง 3 ?

                ก. 2.66x10 ยกกำลัง -24
                ข.2.42x10 ยกกำลัง -23
                ค.2.31x10 ยกกำลัง -23
                ง.2.27x10 ยกกำลัง -23


By นุสรา